

. ประวัติสถานศึกษา
วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย ตั้งอยู่เลขที่ 48 หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยนายบุญมา นวลสายและนางบุญส่ง นวลสาย ชื่อสถานศึกษาได้นำนามฉายาของพระครูพิพัฒนากร ( หลวงปู่ คำคนิงจุลมณี ) เจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของนายบุญมา นวลสาย และครอบครัว
เพื่อเป็นสิริมงคล โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ( สช.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตให้โรงเรียนและเปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 มีนางระเบียบ ชมชื่นธนโชค เป็นครูใหญ่ แต่ได้ลาออกเมื่อเดือน พฤษภาคม 2547 และได้ลาออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 และได้แต่งตั้งนางฉวีวรรณ มืดทับไทย รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่จนถึงเดือนพฤษภาคม 2548 ต่อมานายบุญมา นวลสาย ผู้รับใบอนุญาตได้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่และเปลี่ยนแปลงเป็นผู้อำนวยการตาม พ.ร.บ. การศึกษาเอกชน พ.ศ. 2550
ที่ตั้งและขนาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย ตั้งอยู่เลขที่ 48 หมู่ 7
ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บนพื้นที่ 12 ไร่เศษ
มีอาณาเขตติดต่อพื้นที่
ทิศเหนือ ติดบ้านโนนหาญหก ตำบลสำโรง
ทิศตะวันออก ติดบ้านสองห้อง หมู่ที่ 8 ตำบลกำแพง
ทิศใต้ ติดถนนศรีอุทุมพร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
ทิศตะวันตก ติดหมู่บ้านชุมชนวัดประชานิมิต ตำบลกำแพง
ปรัชญาของวิทยาลัย
“เรียนรู้ คู่คุณธรรม มีงาน มีเงิน มีอนาคต”
เรียนรู้ หมายถึง นักศึกษาอาชีวศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย ต้องเป็นบุคคลที่ศึกษา
ความรู้อยู่ ตลอดเวลาเพราะชีวิต คือ การเรียนรู้
คู่คุณธรรม หมายถึง นักศึกษาอาชีวศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย ต้องเป็นคนดีมีคุณธรรม สืบสานประเพณีอันดีงาม
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
มีงาน หมายถึง นักศึกษาอาชีวศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย เมื่อจบหลักสูตรแล้วมีอาชีพที่มั่นคง
มีเงิน หมายถึง นักศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย ต้องมีรายได้เพื่อดำรงชีวิตอย่างพอเพียง
มีอนาคต หมายถึง นักศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย ต้องมีอนาคตสดใส มีธุรกิจเป็นของตนเอง
หรือประกอบอาชีพในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ
คติพจน์ “อตฺตนา โจทยตฺตานํ” จงเตือนตนด้วยตนเอง
อักษรย่อ “อชจ”
Copyright © 2021 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา Rights Reserved.